สุโขทัย เมืองเก่า มีที่เที่ยวอะไรบ้าง

เมืองเก่าสุโขทัย ดินแดนรุ่งอรุณแห่งความสุข ดินแดนประวัติศาสตร์สุโขทัย ทำไมต้องเรียกว่าประวัติศาสตร์ คำตอบก็เพราะมีหลักฐานการจดบันทึกไว้ในสมัยนั้นประมาณ700ปี บนหลักศิลาจาฤกษ์ และนี่คือดินแดนแห่งแรกของประเทศไทยถ้าเทียบกันแบบใช้ประวัติศาสตร์ และในสมัยราชวงศ์พระร่วง สุโขทัยเป็นต้นกำเนิดประเภณีไทย

เมืองเก่าสุโขทัยเมืองเก่าสุโขทัย

หลายต่อหลายอย่างเช่น ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ การปล่อยโคมลอย การประดิษฐ์อักษรไทย เป็นพื้นฐานที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน และมีศิลปะ อาระธรรม และได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก้ให้เป็นมรดกโลกและสถานที่ท่องเที่ยว มีดังต่อไปนี้ครับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นแหล่งอารยะธรรมและศิลปกรรมที่อ่อนช้อยงดงาม เป็นแหล่งกำเนิดศิลปะวัฒนธรรม พุทธประติมากรรม ชาวบ้านในเขตพื้นที่เรียกว่า “เมืองเก่า” หรือเมืองเก่าสุโขทัยส่วนโบราณสถานของสุโขทัยแบ่งผังเมืองเป็นสองส่วนคือ หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองชั้นใน มีประตูเมืองสี่ประตู มีกำแพงดินล้อมรอบสามชั้น แต่ละชั้นมีคูน้ำขั้นกลาง โบราณสถานมีความสมบูรณ์ และบางที่ก็มีเจดีย์ สถูป ที่สำคัญมีแผนที่บอกทุกจุด

เมืองเก่าสุโขทัยเมืองเก่าสุโขทัย

เขตหัวเมืองชั้นใน เป็นพระราชวังที่ประทับของกษัตรย์ เป็นเขตพระราชฐาน
-เขตเมืองชั้นในด้านทิศเหนือ มีโบราณสถานเช่น พระอจนะ วัดศรีชุมและที่อื่นๆอีกมากมาย

เมืองเก่าสุโขทัยเมืองเก่าสุโขทัย


พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ รามคำแหง สถานที่รวบประวัติศาสตร์ ของสุโขทัยและละแวกใกล้เคียงไว้อย่างสมบูรณ์ โดยทางพิพิธภัณฑ์ เช่น พระะพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ถ้วยชามสังคโลก และเทวรูป และอื่นๆอีกมากมาย

เมืองเก่าสุโขทัยเมืองเก่าสุโขทัย

เจดีช้างล้อม เมืองเก่าสุโขทัย

วัดช้างล้อม ตั้งอยู่บริเวณเขาพนมเพลิง มีองค์เจดีย์ศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น ชั้นแรกมีรูปช้างยืน ทำจากศิลาแลง สามสิบเก้าเชือก ชั้นที่สอง ลานประทักษิณและองค์เจดี ชั้นที่สามเป็นฐานติดองค์เจดีย์ มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป เดิมเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านหน้าองค์เจดีย์มีบันไดขึ้นสู่องค์เจดีย์ถัดออกมาเป็นกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลงรอบองค์เจดีประธาน ด้านข้างสองด้านเป็นประตูหลอก

เมืองเก่าสุโขทัยเมืองเก่าสุโขทัย


พิพิธภัณ์สังคโลก รวบรวมงานต่างๆ จากหลายแห่งมาจัดแสดง เป็นเรื่องราวสะท้อนความเป็นอยู่และวิถีชีวิตสมัยนั้น ที่เกียวกับศาสนาและเครื่องประดับอาคาร
เมืองเก่า บริเวณที่เรียกว่า แก่งหลวง ห่างจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัยลงมาทางอำเภอสวรรคโลก
11 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ และตำบลท่าชัย
เมืองโบราณศรีสัชนาลัยอยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย
เดิมชื่อว่าเมืองเชลียงแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นศรีสัชนาลัย

เมืองเก่าสุโขทัยเมืองเก่าสุโขทัย

เจดีย์กลางสระ วัดตะพังทอง

ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัยและได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถานและโบราณวัตถุ โบราณสถานที่สำคัญ ๆ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง และเรียกอีกชื่อว่า วัดพระปรางค์ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าศรีสัชนาลัย ลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ3 กิโลเมตร เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ และเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร มีโบราณสถานที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ ปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน
เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาบริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามีบันไดขึ้นองค์ปรางค์สู่ซุ้มโถง ผนังภายในองค์ปรางค์มีรอยจิตรกรรมฝาผนังซึ่งลบเลือนไปมาก

เมืองเก่าสุโขทัยเมืองเก่าสุโขทัย

ด้านหน้าองค์ปรางค์มีวิหาร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย และทางด้านขวามีพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลาลักษณะงดงาม กำแพงวัด เป็นศิลาและแท่นกลมขนาดใหญ่เรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 60 เมตร ยาว 90 เมตร เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคายอด และเหนือซุ้มขึ้นไปเป็นปูนปั้นรูปพระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระธาตุมุเตา อยู่ด้านหลังปรางค์ประธานนอกกำแพงแก้ว มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมอญ ในการขุดแต่งเมื่อ พ.ศ. 2535 ประดับส่วนยอดของเจดีย์ มณฑปพระอัฎฐารศ อยู่ด้านหลังของพระธาตุ เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อิริยาบถ ต่อมาได้ซ่อมแซมดัดแปลง ภายในซุ้มคูหามีพระพุทธรูปยืน

เมืองเก่าสุโขทัยเมืองเก่าสุโขทัย

เดิมมณฑปมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา วิหารพระสองพี่น้องอยู่ทางซ้ายมณฑปพระอัฏฐารศ ก่อด้วยศิลาแลง มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย 2 องค์อยู่บนแท่นพระ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า ฐานวิหารสองพี่น้องก่อทับอาคารเดิมที่ก่อด้วยอิฐ และด้านข้างทางขวาของพระวิหารพบฐานรอยพระพุทธบาท โบสถ์ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร
ปัจจุบันทางวัดได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหลังโดยสร้างทับโบสถ์เดิม กุฏิพระร่วงพระลือหรือเรียกอีกชื่อว่าศาลพระร่วงพระลือ มีลักษณะเป็นมณฑป ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง หลังคาทรงมณฑปก่ออิฐซ้อนกัน 4 ชั้น ภายในประดิษฐานรูปหล่อพระร่วงพระลือ(จำลอง)

วัดเขาพนมเพลิง  ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมเพลิงภายในกำแพงเมือง มีเจดีย์ประธานทรงกลม
และมณฑปก่อด้วยศิลาแลง ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกพื้นสูง หลังคาโค้งแหลม
มีบันไดทางขึ้นสู่มณฑป ชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าแม่ละอองสำลีสามารถขึ้นวัดได้ 2 ทาง คือ ทางด้านหน้าวัดแก่งหลวง และด้านข้างวัดซึ่งทางขึ้นเป็นบันไดศิลาแลง ระหว่างทางขึ้นทั้งสองด้านมีศาลาพักด้วย

วัดเขาสุวรรณคีรี อยู่ทางทิศตะวันตก ถัดจากเขาพนมเพลิงไปประมาณ 200 เมตร
โดยตั้งอยู่บนเขาอีกยอดหนึ่งในเทือกเขาเดียวกัน กลุ่มโบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์ประธานทรงกลมขนาดใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลง ฐานเขียงใหญ่ 5 ชั้น ใช้เป็นลานประทักษิณ มีซุ้มพระทั้ง 4 ด้าน ตรงก้านฉัตรมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลา ในท่าเดินจงกรมรอบก้านฉัตรเช่นเดียวกับวัดช้างล้อม ด้านหลังเจดีย์ประธานมีเจดีย์ทรงกลมล้อมรอบด้วยแนวกำแพงศิลาแลง

วัดเจดีย์เจ็ดแถว  อยู่ด้านหน้าวัดช้างล้อม นับว่ามีความสวยงามมากกว่าวัดอื่นในเมืองสุโขทัย
เพราะมีเจดีย์แบบต่าง ๆ กันมากมายที่เป็นศิลปะสุโขทัยแท้ และศิลปะศรีวิชัยผสมสุโขทัย โบราณสถานที่สำคัญคือเจดีย์ประธานรูปดอกบัวตูมอยู่ด้านหลังพระวิหาร และเจดีย์รายรวมทั้งอาคารขนาดเล็กแบบต่าง ๆ จำนวน 33 องค์
มีกำแพงแก้วล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง นอกกำแพงมีโบสถ์ และบ่อน้ำ เจดีย์รายที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวได้รับอิทธิพลศิลปะจากที่ต่าง ๆ หลายแห่ง เช่น ลังกา และพุกาม ด้านหลังเจดีย์ประธานมีเจดีย์รายที่มีลักษณะเด่น คือ ฐานเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ยอดเป็นทรงกลม ภายในเจดีย์มีซุ้มโถง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้น มีภาพจิตรกรรมเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า และเหล่าเทวดา กษัตริย์ ส่วนซุ้มจรนำด้านหลังของเรือนธาตุทำเป็นพระพุทธรูปนาคปรก สาเหตุที่เรียกว่า วัดเจดีย์เจ็ดแถวเนื่องจาได้พบเจดีย์จำนวนมากหลายแถวภายในวัด

วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่  ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดเจดีย์เจ็ดแถวนักโบราณสถานที่สำคัญคือเจดีย์ประธานทรงกลม ก่อด้วยศิลาแลง องค์ระฆังได้พังทลายลง ด้านหน้ามีบันไดขึ้นไปจากมุขหลังของวิหารถึงเรือนธาตุเพื่อสักการะพระพุทธรูป เจดีย์ประธานมีวิหาร และมุขด้านหน้า ส่วนด้านหลัง มีบันไดขึ้น 5 ทาง เสาวิหารและกำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลง

วัดนางพญา ตั้งอยู่แนวเดียวกับวัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ มีลวดลายปูนปั้นงดงามมาก ปรากฏอยู่บนซากผนังวิหารด้านตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งเป็นวิหารขนาดเจ็ดห้อง เสาวิหารทุกด้านมีเทพนม และลวดลายต่าง ๆ ทำด้วยสังคโลกไม่เคลือบ เจดีย์ประธานของวัดเป็นเจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่บนฐานประทักษิณ ซุ้มด้านหน้ามีบันไดทางขึ้นจนถึงโถงเจดีย์
ตรงกลางโถงมีแกนเจดีย์ประดับด้วยลวดลายปูนปั้น วิหารก่อด้วยศิลาแลงมีมุขหน้า และมุขหลัง ผนังวิหารเจาะช่องแสง ผนังด้านใต้มีลวดลายปูนปั้น ลักษณะเด่นก็คือ ลวดลายปูนปั้นทำเป็นกึ่งมนุษย์กึ่งวานรกำลังวิ่ง แต่ถูกทำลายไปบางส่วน นอกจากนั้นยังทำเป็นลวดลายพรรณพฤกษา และรูปเทพพนมเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น

ศาลพระแม่ย่า อยู่ที่ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย เป็นที่ประดิษฐาน ดวงพระวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหง มหาราชและเทวรูปพระแม่ย่า เป็นที่เคารพบูชาของชาวสุโขทัย

อำเภอกงไกรลาศ อันนี้ไม่เกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นบ้านเกิดของadminเอง อยากบอก  บริเวณตลาดสดมีปลาจากแม่น้ำยมขายมากมาย และปลาร้าแสนอร่อย ขนมผิง ขนมเผือกทอดกลอย และของฝากอีกมากมาย สำหรับที่พักก็จะมีโรงแรมไพริน อยู่ที่ตำบลเมืองเก่าสุโขทัย ธาราบุรีรีสอร์ท ธิวสนรีสอร์ท ขอให้มีความสุขและประทับใจกับการไปเที่ยวเมืองเก่าสุโขทัยนะครับ

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวแบบชมทะเลหมอกที่ ศรีศัชนาลัยสวยงามไม่แพ้ภูทับเบิกครับ
หรือแวะไปเชียร์ทีม ค้างคาวไฟ สุโขทัย ด้วยกันครับ แล้วไปต่อกันที่“พิดโลก”ก็ได้เหมือนกันครับ
หมายเหตุ ข้อมูลหยิบยกมาจาก ป้ายบอกข้อมูลและประวัติ จากเมืองเก่าโดยตรงครับ เพราะไม่อยากให้ ประวัติศาสตร์บิดเบือนไป และอยากเชิญชวนให้มาเที่ยว ที่เมืองเก่าสุโขทัยกันเยอะๆครับ

สามารถอ่าน อณาจักรสุโขทัย ฉบับเต็มจากwiki คลิ๊ก

หากชอบก็กดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังใจด้วยครับ